วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551

หน่วยที่1 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา



ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา
คือ ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้นเทคโนโลยี แบ่ง ได้เป็น 2 ประการ ดังนี้

1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์โทรทัศน์ ฯลฯมาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ หมายถึง การนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษาการสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเน้นเรื่องเทคนิคที่เป็นวิธีการ และกระบวนการเรียนการสอนมากกว่าวัสดุ และเครื่องมือhttp://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01005.aspลักษณะของนวัตกรรมสิ่งที่ต้องจัดว่าเป็น

นวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้
1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)
2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)
3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01006.asp

แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษากับการศึกษาไทย มี 3 ประการ
1.คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง

2.คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าสิ่งแวดล้อม
3.คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย
สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาเนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆนวัตกรรมทางการศึกษาหมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ส่งเสริมกระบวนการทางการส฿กษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การสอนแบบโปรแกรม ศูนย์การเรียน เป็นต้นแนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้คือ ใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญาพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาที่มา เอกสารประกอบการสอน อ.มงคล ภวังค์คนันท์ อาจารย์ประจำโปรแกรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี

นวัตกรรมการศึกษา
คือ กระบวนการใหม่ ๆ ทางด้านการศึกษา อาทิ วิธีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่ วิธีการเรียนการสอนที่เป็น Program เป็น Module มีลักษณะการเรียนการสอนคล้ายกับต่างประเทศ เป็นโปรแกรม ที่สามารถเปิดการเรียนได้ทันที ไม่ต้องขอตามระบบตามขั้นเหมือนระบบราชการของเรา หลักสูตรที่เปิดสอนมีขึ้นตามความต้องการของตลาด อีกประการหนึ่งคือเกี่ยวข้องกับ Area ใหม่ ๆ ที่สำคัญกับประเทศ ที่เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาhttp://learners.in.th/blog/joy30/5803

ความหมายนวัตกรรม
คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528)ส่วนคำว่า "นวกรรม" ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเองHughes (1971)

อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การคิดค้น (invention)...........
2. การพัฒนา (Development)...........
3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

กล่าวโดยสรุป นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้
1.การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
4 .ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า "Web-based learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any where, Any time for Everyone
ที่มา http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=4&sub1=1&sub2=1






ไม่มีความคิดเห็น: